ปะเก็นยาง VS Non-Asbestos

ปะเก็นยาง VS Non-Asbestos

 

ปะเก็น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Gasket”  ปะเก็นนี้ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในหลายๆอุตสาหกรรมเลยนะครับ

หลายๆคนอาจจะเคยประสบปัญหา เช่น จะเลือกประเก็นยางก็ไม่แน่ใจว่าต้องใช้ชนิดใดถึงเหมาะสมกับของที่เราจะนำมาใช้งาน หรือจะเลือกใช้แบบ Compressed Non-asbestos Fiber ก็ไม่มั่นใจว่าต้องใช้ชนิดไหน รุ่นใด

 

ปะเก็น (Gasket) คืออะไร?

 

ปะเก็นคือชิ้นส่วนหนึ่งของเครื่องจักร, เครื่องมือ โดยหน้าที่หลักของปะเก็นคือป้องกันการรั่วไหลของสิ่งที่อยู่ภายใน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของของเหลว, ก๊าซหรือของแข็งออกมาสู่ภายนอกนั่นเองครับ

หลักการทำงานของปะเก็นคือเป็น ทำหน้าที่เป็นตัวคั่นระหว่างรอยต่อต่างๆ โดยที่ตัวปะเก็นเองจะมีคุณสมบัติที่สามารถยุบตัวหรือให้ตัวได้ ปะเก็นจะแนบสนิทเข้ากับรอยต่างทั้ง 2 ด้าน ทำให้พื้นที่ผิวสัมผัสแนบสนิท จนทำให้ของไหลต่างๆที่อยู่ด้านใน เช่น ของเหลว ก๊าซ ฝุ่นละอองต่างๆ ไม่สามารถไหลออกมาได้ครับ

 

ภาพของปะเก็นยาง

 

 

ปะเก็นยางมีกี่ชนิด?

ปะเก็นยางที่ใช้งานกันในปัจจุบันมีหลายชนิดมากๆเลยนะครับเพื่อนๆ โดยหลักๆแล้วจะมีอยู่ด้วยกันดังนี้ครับ

  1. ปะเก็นยางธรรมชาติ ตรงตัวอีกเช่นเคยครับ ปะเก็นชนิดนี้ผลิตจากยางที่ได้มาจากต้นยางพารานั่นเองครับ โดยปะเก็นชนิดนี้มีจุดเด่นหลักๆคือสามารถทนแรงกดได้ดีกว่าปะเก็นยางชนิดอื่นๆ จึงเป็นที่นิยมใช้กับเครื่องจักรที่มีความสั่นสะเทือนสูงครับ
  2. ปะเก็นยาง NBR (Nitrile rubber) – ยางชนิดนี้เป็นยางสังเคราะห์หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Buna-N เป็นยางกันรั่วซึมที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีความทนทานต่อเชื้อเพลิงปิโตรเลียมและน้ำมันล่อลื่น นอกจากนั้นยังมีราคาค่อนข้างถูกและยังคงความยืดหยุ่นในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิ
  3. ปะเก็นยาง Neoprene – เป็นปะเก็นที่ทำจากยางสังเคราะห์ที่ได้มาจากกระบวนการโพลีเมอไรเซชั่นของครอโรพรีน (Chloroprene) มีคุณสมบัติเด่นคือทนการสึกหรอได้ดี และความต้านทานต่อการติดไฟ ถ้าไฟติดจะไม่ลุกลามและสามารถดับได้เองครับ
  4. ปะเก็นยาง EPDM – คือปะเก็นที่ทำจากยาง EPDM (Ethylene Propylene Diene Monomer) เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง ซึ่งยางชนิดนี้มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางในส่วนของงานกลางแจ้ง งานที่เกี่ยวกับสารเคมี และงานที่เกี่ยวกับอุณหภูมิสูง ยาง EPDM นั้นเป็นยางที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ทนต่อโอโซน ทนต่อไอน้ำ และยังเป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้อีกด้วย และยังมีการนำยาง EPDM นำไปใช้เป็นฉนวนกันน้ำหรือรั่วซึม ยางส่วนประกอบเครื่องจักรกลเพื่อลดแรงกระแทกอีกด้วยครับ
  5. ปะเก็นซิลิโคน Silicone – ด้วยคุณสมบัติมากมายของยางซิลิโคนที่มีความยืดหยุ่นสูงกว่ายางชนิดอื่นและด้วยความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำมาก ทําให้ยางซิลิโคนมีข้อได้เปรียบมากกว่าวัสดุอื่นในงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตอาหาร เภสัชกรรม และอุปกรณ์เครื่องมือด้านความสะอาดต่างๆ

 

ปะเก็นชนิด Compressed Non-Asbestos Fiber คืออะไร

คือปะเก็นที่นำข้อดีที่สามารถทนต่อสารเคมีของปะเก็นยางและข้อดีในการรับแรงของเส้นใยแก้วจาก Fiber ต่างๆมารวมเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่เหมาะกับการใช้งานสูงที่สุด ซึ่งก็จะเรียกปะเก็นชนิดนี้ว่า Compressed Non-Asbestos Fiber (CNAF) โดยส่วนประกอบจะประกอบไปด้วยหลักๆ 2 ส่วนดังนี้ครับ

  1. Fiber คือส่วนประกอบหลักที่เป็นตัวที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับปะเก็น โดยส่วนมากจะมีใช้งานอยู่ดังนี้
  2. Binder คือสารยึดเกาะที่ทำหน้าที่เป็นตัวยึด Fiber ชนิดต่างๆให้คงรูปในรูปทรงต่างๆที่จะนำไปใช้งาน และนอกจากทำหน้าที่เป็นสารยึดเกาะแล้วยังเป็นตัวที่เพิ่มความทนทานต่อสารเคมีที่จะนำไปใช้งานอีกด้วย

ภาพปะเก็นแบบ Non-asbestos

 

ปะเก็นยาง VS ปะเก็น Non-Asbestos

โดยสิ่งหนึ่งที่เห็นสังเกตุได้แตกต่างได้ชัดคือ “ปะเก็นยาง ชนิดยางธรรมชาติ และ ปะเก็นยางชนิด NBR” ที่เป็นนิยมทอย่างมากในงานอุตสาหกรรมเนื่องจากราคาถูก จะไม่มีความสามารถในการทนต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ดีพอครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “จะไม่ทนต่อแสงแดด” และ “คุณสมบัติของไหลในท่อที่เปลี่ยนแปลงไป”

ดังนั้นการที่จะเลือกใช้ปะเก็นยางในงาน ท่อหน้าแปลน (Flange) ใน line ท่อน้ำ ท่อน้ำดับเพลิง รวมไปถึง ท่อสารเคมีต่างๆหากไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม หรือคุณภาพน้ำที่อยู่ด้านใน นานๆไปก็จะเกิดการรั่วในที่สุดครับ ดังนั้นในหลายๆโรงงานจึงกำหนดมาตราฐานในการไม่เลือกใช้ปะเก็นยางไว้ค่อนข้างชัดเจนครับ

 

การติดตั้งปะเก็นยางที่หน้าแปลน (Flange)

 

ปะเก็นยางในท่อ Fire water เมื่อเสื่อมสภาพ

 

 

อย่างที่ได้อธิบายไปนะครับ ก็จะเห็นว่าปะเก็นชนิด Compressed Non-Asbestos Fiber มีคุณสมบัติที่ค่อนข้างเหนือกว่าปะเก็นยางอย่างมาก โดยเมื่อพิจารณาจะเลือกใช้งานปะเก็นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นปะเก็นชนิดใดก็ตาม มีสิ่งที่คำนึงถึงดังนี้ครับ

  1. ความสามารถของการทนทานต่อสารเคมีที่จะนำปะเก็นไปใช้
  2. ความสามารถของการทนต่อแรงดันและอุณหภูมิ
  3. อายุการใช้งานของปะเก็น รวมถึงรอบการบำรุงรักษาที่เหมาะกับระยะเวลาการใช้งานของปะเก็น

ภาพปะเก็นยาง (ดำ) ปะเก็น Non-asbestos (เขียว) และหน้าแปลน

 

 

ดังนั้นทางเลือกที่ดีในการใช้งานปะเก็นแบบ Non-Asbestos จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับปะเก็นยางนะครับ โดยที่ราคาของเจ้าปะเก็นสองตัวนี้ไม่แตกต่างกันมากอีกด้วยนะครับ

สนใจติดต่อสอบถาม
Tel : 02-1024352 
Line : @sealingrus
Facebook : ปะเก็น ซีลลิงส์