“แร่ใยหิน” หรือ “แอสเบสทอส” (Asbestos) เป็นกลุ่มของแร่อนินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่มีการปะปนรวมอยู่ภายในเนื้อหินซึ่งประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ มากมาย เช่น ธาตุเหล็ก แมกนีเซียมและซิลิเกต เป็นต้น ลักษณะของมันจะเป็นเส้นใยเล็กๆ ละเอียด
ภาพที่ 1 แร่ใยหิน
แร่ใยหินที่สามารถหาพบได้ตามธรรมชาติ สามารถแบ่งออกมาได้ 2 ชนิดดังนี้ครับ
1. แอมฟิโบล แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 5 ชนิด ได้แก่ ครอซิโดไลท์ ทรีโมไบท์ อะโมไซท์ แอคทิโนไลท์และแอนโธฟิลไลท์
2. เซอร์เพนไทน์ แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 2 ชนิด ได้แก่ ไวท์ แอสเบสทอสและไครโซไทล์
ปะเก็น Asbestos ที่ทำมาจากวัสดุแร่ใยหินมีคุณสมบัติอันโดดเด่นในด้านของการทนไฟหรือทนทานต่อความร้อน ตั้งแต่ 700 – 1,000 องศาเซลเซียสขึ้นไป และไม่นำพาความร้อนและไฟฟ้า นอกจากนี้ยังทนต่อความเป็นกรด-ด่าง มีความยืดหยุ่นและแข็งเหนียว ซึ่งเป็นที่นิยมมากๆในสมัยก่อน แต่มว่าด้วยความที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ของคนทำงานจึงถูกยกเลิกการใช้งานไป
ปะเก็นแร่ใยหิน
และเจ้าวัสดุแร่ใยหินนั้นสามารถที่จะนำมาปั่นให้เป็นเส้นและนำมาทอให้กลายเป็นผืนได้ และด้วยคุณสมบัติอันหลากประการดังที่กล่าวมาจึงทำให้ผู้คนนิยมนำแร่ใยหินมาใช้เป็นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่อุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตท่อน้ำซีเมนต์ อุตสาหกรรมกระดาษอัด อุตสาหกรรมสิ่งทอ กระเบื้องยางไวนิลสำหรับปูพื้น ผ้าคลัตช์ ผ้าเบรกและฉนวนกันความร้อน เป็นต้น
พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จัดแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิดตามความจำเป็นแก่การควบคุม ได้แก่ วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ตามวัตถุประสงค์ของการนำวัตถุอันตรายไปใช้ดังนี้
1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม
2. กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการเกษตร
3. กรมประมง รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
4. กรมปศุสัตว์ รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ทางปศุสัตว์
5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในบ้านเรือน หรือ ทางสาธารณสุข
6. กรมธุรกิจพลังงาน รับผิดชอบวัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซปิโตรเลียม
ซึ่งแร่ใยหิน (Asbestos) ชนิด “ไครโซไทล์” จัดว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และแร่ใยหินในกลุ่ม “แอมฟิโบล” จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยในประเทศไทยอนุญาตให้มีการใช้งานแร่ใยหินชนิดเดียวคือ แร่ใยหินชนิดไครโซไทล์ (Chrysotile) หรือแอสเบสตอสสีขาว
อย่างที่ทราบกันนะครับว่า แร่ใยหินมีคุณสมบัติที่ดีในหลายๆแง่ แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นเดียวกัน ซึ่งในบางโอกาสเราอาจจะได้รับหรือสัมผัสกับแร่ใยหินโดยที่เราไม่รู้ตัว เราสามารถรับแร่ใยหินเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยกันทั้งหมด 3 วิธีดังนี้ครับ
ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคจากแร่ใยหิน จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ปัจจัยดังนี้ครับ
วิธีการป้องกันการจากสัมผัสกับสารแร่ใยหินในสถานประกอบการที่ใช้แร่ใยหิน หรือช่างก่อสร้างที่มีโอกาสสัมผัสแร่ใยหินโดยตรง ต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันการสัมผัสแร่ใยหินอย่างเข้มงวด มีการตรวจสุขภาพประจำทุกปีเพื่อตรวจสุขภาพของปอดครับ แต่ในส่วนของผู้บริโภคอย่างเราที่จะสร้างบ้านหรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อาจมีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ ต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างชัดเจน เช่นข้อควรระวังระบุไว้อย่างชัดเจนที่ตัวผลิตภัณฑ์
โดยในปัจจุบันนี้แร่ใยหิน ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก เพราะเนื่องจากมีวัสดุทนแทนที่ให้คุณสมบัติที่เหมือนกันหรือดีกว่า โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย วัสดุทดแทนที่นำมาใช้แทน ยกตัวอย่างเช่น
ทีนี้กลับมาเรื่องปะเก็นของเรากันต่อนะครับ ในปัจจุบันนี้ปะเก็นแร่ใยหินนั้น หาซื้อหรือหาใช้งานค่อนข้างยากแล้วนะครับ หรือหากจะพอพบเจอได้บ้างก็จะมีในโรงงานที่มีอายุประมาณนึงครับ ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากในขณะนี้ ทำให้ปะเก็นในปัจจุบันหรือที่เรานิยมเรียกกันว่า Non-Asbestos gasket มีคุณสมบัติที่ดีและเหนือยิ่งกว่าปะเก็นแบบแร่ใยหินเดิม (Asbestos gasket) ค่อนข้างมาก หรือ อาจจะขยับเป็นแบบ Spiral Would gasket ที่นิยทใช้กันตามมาตราฐานสากลโดยสามารถเลือกได้อย่างหลากหลายเหมาะสมกับการใช้งานของเรานะครับ
Non-Asbestos Gasket
ASME B16.20 Spiral Wound Gasket(SWG)
Login and Registration Form